e-Government
คืออะไร
e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เรียกสั้นๆ ว่า e-Gov คือการที่ภาครัฐนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ ประชาชนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการผ่านโทรศัพท์ หรือการให้บริการผ่านจุดบริการนอกสถานที่
e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เรียกสั้นๆ ว่า e-Gov คือการที่ภาครัฐนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ ประชาชนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการผ่านโทรศัพท์ หรือการให้บริการผ่านจุดบริการนอกสถานที่
ทำไมต้องใช้บริการ e-Government
- ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อหน่วยงานภาครัฐโดยตรง
- สามารถติดต่อ หรือรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐได้ทุกที่ทุกเวลา
- ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ทั้งประชาชนและภาครัฐ
- มีความรวดเร็ว และสะดวกสบายแก่ประชาชน
-ลดความยุ่งยาก และ ปัญหาที่เกิด ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆกับภาครัฐ
- ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อหน่วยงานภาครัฐโดยตรง
- สามารถติดต่อ หรือรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐได้ทุกที่ทุกเวลา
- ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย ทั้งประชาชนและภาครัฐ
- มีความรวดเร็ว และสะดวกสบายแก่ประชาชน
-ลดความยุ่งยาก และ ปัญหาที่เกิด ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆกับภาครัฐ
1. ความพร้อมของผู้นำ
เรื่อง ของ e-Government เป็นการทำงานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหารประเทศ ในระดับสูง เนื่องจากต้องอาศัยการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง ทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อแปลงงานจำนวนมากที่เคยทำด้วยมือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ และผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ยังต้องการสนับสนุน คน เงิน งบประมาณ จำนวนเพียงพอ และต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน
ดังนั้นการทำให้เกิด e-Government จะต้องได้รับการผลักดันจากผู้นำประเทศ ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการบริหารและกฎหมายควบคุมต่าง ๆ จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างและกระบวนการบริหาร ตลอดจนกฎหมายให้สามารถดำเนินงานตลอดจนปรับกระบวนการให้สามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่อง ของ e-Government เป็นการทำงานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหารประเทศ ในระดับสูง เนื่องจากต้องอาศัยการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง ทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อแปลงงานจำนวนมากที่เคยทำด้วยมือ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ และผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ยังต้องการสนับสนุน คน เงิน งบประมาณ จำนวนเพียงพอ และต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน
ดังนั้นการทำให้เกิด e-Government จะต้องได้รับการผลักดันจากผู้นำประเทศ ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการบริหารและกฎหมายควบคุมต่าง ๆ จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างและกระบวนการบริหาร ตลอดจนกฎหมายให้สามารถดำเนินงานตลอดจนปรับกระบวนการให้สามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน
การ ทำให้เกิด e-Government จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าถึงการให้บริการ โดยสามารถแยกออกได้เป็นความพร้อมของเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่พร้อมใช้เพื่อการสื่อสาร และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทั่วถึง และเท่าเทียม กระแสสารสนเทศ สามารถส่งไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรม
- ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ต้องมีอย่างพอเพียงเพื่อให้ทั้งภาครัฐ และประชาชนสามารถใช้เครื่องมือในการให้บริการของภาครัฐ และภาคประชาชนในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดทำให้ ทั้งนี้ ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และภูมิประเทศ เช่น ตู้บริการสาธารณะ (Kiosk) และศูนย์โทรคมชุมชน (Tele Center) อาจจะใช้เป็นเครื่องมือที่รัฐสามารถจัดหาและส่งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้
- ทรัพยากรมนุษย์ ข้าราชการ และประชาชนจะต้องมีการพัฒนาทักษะ และเรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานและการให้และการรับ บริการ เพื่อให้เกิดผลแบบพลวัตรอันเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
- เนื้อหา และสื่อ จะต้องมีการพัฒนาเนื้อหา ที่เป็นภาษาไทย จะต้องมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี ทั้งนี้ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมากจะต้องพัฒนาเพื่อปรับแต่งเนื้อหาที่ตรงตาม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างของประเทศไทย
การ ทำให้เกิด e-Government จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าถึงการให้บริการ โดยสามารถแยกออกได้เป็นความพร้อมของเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่พร้อมใช้เพื่อการสื่อสาร และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทั่วถึง และเท่าเทียม กระแสสารสนเทศ สามารถส่งไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรม
- ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ต้องมีอย่างพอเพียงเพื่อให้ทั้งภาครัฐ และประชาชนสามารถใช้เครื่องมือในการให้บริการของภาครัฐ และภาคประชาชนในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดทำให้ ทั้งนี้ ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และภูมิประเทศ เช่น ตู้บริการสาธารณะ (Kiosk) และศูนย์โทรคมชุมชน (Tele Center) อาจจะใช้เป็นเครื่องมือที่รัฐสามารถจัดหาและส่งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้
- ทรัพยากรมนุษย์ ข้าราชการ และประชาชนจะต้องมีการพัฒนาทักษะ และเรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานและการให้และการรับ บริการ เพื่อให้เกิดผลแบบพลวัตรอันเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
- เนื้อหา และสื่อ จะต้องมีการพัฒนาเนื้อหา ที่เป็นภาษาไทย จะต้องมีการปรับแต่งให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี ทั้งนี้ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมากจะต้องพัฒนาเพื่อปรับแต่งเนื้อหาที่ตรงตาม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างของประเทศไทย
3. ความพร้อมของภาครัฐบาล
รัฐบาลไทยได้มีกฎกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน
และบูรณาการเพื่อให้เกิด e-Government โดยเร็วนอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น
ในระดับกระทรวงทุกกระทรวงเพื่อให้เป็นศูนย์กลางประสาทสั่งการและศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร
เพื่อที่จะดำเนินการรวบรวม และส่งข้อมูลข่าวสาร และการปฏิบัติการไปยังศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
ตลอดจนใช้ในการตัดสินใจและสั่งการของแต่ละกระทรวงอีกด้วย
4. ความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
ความ สำเร็จของ
e-Government ที่แท้จริงจะต้องมีเป้าหมายคือ ทำเพื่อประชาชนได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
ดังนั้น "ความสำเร็จของการออกแบบ e-Government คือ
การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง" เนื่องจากประชาชนในประเทศไทยมีความแตกต่างกันมาก
ทั้งในด้านของโอกาส และพื้นฐานการศึกษา ความหลากหลายดังกล่าวทำให้การบริการ เหมือน
ๆ กัน ไม่สามารถกระจายสู่ประชาชนทุกกลุ่มได้เท่าเทียมกัน
ตัวอย่างเว็บไซต์ในโครงการ
e -
Government
ภาษีอากร
www.rd.go.th
อสังหาริมทรัพย์
www.dpt.go.th
การดูแลสุขภาพ
Healthy.in.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น